วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สาระที่ 2-1

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ


สาระสำคัญ  
  ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว การใช้เครื่องมือในการช่วยอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ และการแก้ปัญหาที่สามารถถ่ายทอดขั้นตอนวิํธีการให้บุคคลอื่นรับรู้ สื่อสารได้ตรงกันจะทำให้การแก้ปัญหาต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี แก้ปัญหาได้ตรงตามเป้าหมาย เกิดประสิทธิภาพ

ผังงานหรือโฟลว์ชาร์ต (Flowchart)
  เป็นแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมโดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เชื่อมกันเป็นลำดับขั้นตอนด้วยลูกศร





รหัสจำลอง (Pseudo Code)  เป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปแบบคำบรรยายการใช้เครื่องมือช่วยออกแบบ (เป็นข้อความอธิบายขั้นตอนการทำงานสั้นๆ ซึ่งสื่อสารให้ผู้ที่เป็นโปรแกรมเมอร์เข้าใจ และนำไปใช้ในการเขียนคำสั้งโปรแกรมได้ถูกต้อง โดยทั่วไปจะเป็นคำในภาษาพูดของคนใช้แทนคำสั่้งโปรแกรมที่่ต้องการ)


เสริมความรู้

รูปธรรม  คือ สิ่งที่รู้ได้ทางตา จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย ต่างจากนามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจ หรือ ส่ิงที่เห็นได้ด้วยความคิดนั้นเอง

นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) มีหน้าที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ





วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สาระที่ 5

1. รูปแบบการสื่อสารข้อมูล
2. วิธีการส่งข้อมูลในระบบสื่อสารข้อมูล
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
4. สื่อกลางนำเข้าข้อมูล

สื่อการเรียนเพิ่มเติม


วิธีการส่งข้อมูลในระบบสื่อสารข้อมูล  มี 2 รูปแบบ


1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Data Transmission)
ข้อควรจำ เป็นการส่งข้อมูลเรียงที่ละบิตตามลำดับ ทำให้การส่งข้อมูลช้า เปรียบได้กับช่องทางการเดินรถหรือด่านเก็บเงินบนทางด่วน

2.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel Data Transmission)
   ข้อควรจำ เป็นการส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง แต่มีข้อจำกัดในด้านความยาวของสายเคเบิลที่ไม่สามารถเชื่อมต่อในระยะไกลได้ เนื่องจากสัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย


เทียบความเร็วอุปกรณ์รับส่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0, Thunderbolt, LAN และอื่นๆ



สาระที่ 4

1. โครงสร้างของเครือข่าย
2.  ประเภทของระบบเครือข่าย


   *อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันเรียกว่า  เครือข่าย ซึ่งเครือข่ายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียวกันเท่านั้น อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลและรับข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

**รูปแบบของเครือข่าย**



1)โครงสร้างเครือขายแบบเมช (Mesh Topology)
    Trip: เหมาะกับการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายไร้สาย เพราะสามารถติดต่อกันได้ด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง(Router) ไปยังจุดหมายปลายทางโดยอัตโนมัติ



2.โครงสร้างเครือข่ายแบบดาว (Star Topology) 
  Trip: เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายที่เป็นศูนย์กลาง 
ข้อดี สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ได้ง่ายโดยไม่กระทบกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ 
ข้อเสีย  ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลค่อนข้างสูง และเมื่ออุปกรณ์ฮับหรือสวิตช์ไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดทำงานตามไปด้วย

3. โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)
 Trip: เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยเคเบิลยาวต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยใช้คอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อม
ข้อดี: การเชื่อมต่อแบบบัสใช้สื่อนำข้อมูลน้อยช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบ
ข้อเสีย การตรวจสอบจุดที่มีปัญหากระทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะที่มีเครือข่ายมากเกินไปจะมีปัญหาในการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

4. โครงสร้างเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
  Trip: เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียวกันในลักษณะวงแหวน การรับ-ส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น
 ข้อดี ใช้สายเคเบิลน้อย ถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบ  และไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อเสีย  ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหายทำให้ระบบหยุดทำงาน
5. โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)
 Trip เป็นเครือขายที่ผสมสานกันทั้งแบบดาว วงแหวน และ บัส 

ประเภทของระบบเครือข่าย

1.เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน (Personal Area Network:PAN)
  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับพีดีเอ เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายและระยะใกล้


2.เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลน (Local Area Network: LAN)
   เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น ภายในอาคาร หรือองค์กรที่ระยะทางไม่ไกลมาก โดยทีการเชื่อมต่อแบบใช้สายโทรศัพท์ซึ่งเป็นสายยูทีพี UTP

3. เครือข่ายนครหลวงหรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) 
 เป็นเครือข่ายระดับเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายท้องถิ่น ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เช่น การให้บริการทั้งของรัฐและเอกชน


4.เครือข่ายวงกว้างหรือแวน (Wide Area Network : WAN)
 เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกลหรือระดับประเทศ

สาระที่ 3

1.มาตรฐานของโพรโทคอล 
2.โพรโทคอล

**************ยิ่งอ่านยิ่งรู้ คู่ความฉลาด*********

โพรโทคอล เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้น จึงจะสามามารถติดต่อ และส่งข้อมูลระหว่างกันได้

โพรโทคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นก่อน OSI Model มาตรฐานของ ICP/IP จึงไม่ได้ใช้มาตรฐานเดียวกันกับของ OSI โดย TCP/IP จะมีการแบ่งจำนวนขั้นตอนที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองระบบออกเป็น 4 ชั้น เท่านั้น โดยชั้นบนคือ Process layer จะเป็น Application Protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้ชั้นถัดลงมาคือ internetwork layer ได้แก่ ส่วนของโพรโทคอล IP ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป และทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูล ส่วนชั้นสุดท้ายคือ Network Interface  จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ และควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย




IEEE ย่อมาจาก The Institute of Electrical and Electronics Engineers คือ มาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งกำหนดโดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ สถาบัน IEEE เป็นสถาบันดูแลมาตรฐานวิจัยและพัฒนาความรู้และงานวิจัยใหม่ๆ ตลอดจนเผยเผยแพร่ความรู้ โดยเน้นด้านไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์โทรคมนาคม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบวัดคุม

          (การใช้งาน)                                    โพรโทคอลชนิดต่างๆ

เสริมความรู้

 สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่นิยมใช้ได้แก่
 TCP/IP  : มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมาก เหมาะกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
OSI:  เหมาะกับการเรียนเป็ฯโมเดลในอุดมคติ มีประโยชน์สำหรับนำมาเป็นแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวทางการทำงานของโพรโทคอลในปัจจุบัน

(OSI : Open System Interconnection Model)

สัญญาณ ACK (Acknowledge) คือ แอ็กหรือการตอบรับ เป็นส่วนหนึ่งของโพรโทคอลสื่อสารข้อมูล การได้รับ ACK หมายความว่า ข่าวสารที่ส่งออกไปได้รับแล้วเรียบร้อยหรือ หมายความว่า ตกลงตามข้อเสนอที่เสนอไป

เซกเมนต์ คือ บล๊อก ของหน่วยความจำที่เริ่มต้น ณ ตำแหน่งทีคงที่สามารถหาได้จากค่าของเซกเมนต์รีจีสเตอร์ 8086 มีอยู่ 4 ตัว ซึ่งสามารถชี้ไปยังตำแหน่งใดๆ ในแอสเดรส 1 MB ก็ได้

อินฟราเรด คือ ส่วนหนึ่งของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ของแสงต่ำกว่าแสงสีแดงที่ตาของคนเราไม่สามารถมองเห็นเป็นลำแสงอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อการสื่อสารในระยะใกล้ โดยมีระยะในการส่งสัญญาณ 30-80 ฟุต

รอบรู้อาเซียน
 สิงคโปร์ เป็นประเทศสมาชิกที่ได้รับมอบหมาย จากประชาคมอาเซียนรับผิดชอบในการจัดทำ Road map ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร

แบบฝึกทักษะความคิด(1) อ่านก่อนทำนะครับ

สาระที่2

1.ลักษณะข้อมูลที่ใช้สื่อสารในคอมพิวเตอร์
2.ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล

  งานชิ้นที่ 2 นักเรียนออกแบบชิ้นงานโดยใช้ Word
@ลักษณะข้อมูลที่ใช้สื่อสารในคอมพิวเตอร์
      1. ตัวอักษร (Text)
      2. ตัวเลข (Number)
      3. รูปภาพ (Image)
      4. เสียง (Audio)
      5. วีดีโอ (Video)
@ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
     1.การสื่อสารทางเดียว
     2.การสื่อสารกึ่งสองทาง
     3.การสื่อสารสองทาง

รอบรู้อาเซียน
 การทำธุรกรรมทางกรมศุลกากรในกลุ่มอาเซียนใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ ASEAN Single Window  โดยทำธุกรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องภายในประเทศและบริษัทคู่ค้าในประเทศสมาชิกอาเซียน สามารถช่วยลดการใช้เอกสารที่ยุ่งยากและตรวจสอบได้ง่าย

สายเคเบิล คือ สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลากหลายแบบ แต่ละแบบจะมีความเร็วในการับ-ส่งข้อมูล และราคาแตกต่างกัน ส่วนการจะเลือกใช้สายเคเบิลแบบใด ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของเครือข่าย

เสริมความรู้
รหัสแท่งตามมาตรฐานยุโรปและเอเชีย มี 13 หลัก โดย 3 หลักแรกใช้แทนรหัสประเทศผลิต 3 หลัก ถัดไปเป็นรหัสของบริษัทผู้ผลิตในประเทศนั้น 4 หลัก ถัดไปเป็นรหัสอ้างอิงของสินค้าในบริษัทนั้น และหลักสุดท้ายเป็นรหัสที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องอ่านเรียก Check digit จะใช้เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ดังนั้นเราจะพบเสมอว่า การป้อนเลขประจำตัวประชาชนแบบไม่ตั้งใจหรือผิดพลาดก็สามารถตรวจได้โดยใช้เลขหลักสุดท้ายตรวจสอบนั้นเอง

เสริมความรู้
  คลื่นพาห์ คือ คลื่นวิทยุที่สร้างขึ้นมาผสมกับคลื่นเสียงที่เราต้องการส่งออกอากาศ เช่น เสียงพูดหรือเสียงเพลง จากนั้นก็ส่งออกไปทางเสาอากาศของเครื่องส่ง เพื่อให้สามารถออกไปได้ไกล ซึ่งเป็นคลื่นที่เป็นความถี่สองสถานีส่งนั้น

เสริมความรู้
  ความละเอียดของรูปภาพใช้เกณฑ์กำหนดเป็นจำนวนเม็ดสี pixel ต่อหนึ่งหน่วยความยาวของภาพ เช่น หากภาพนั้นมีค่า Resolution = 150 pixels/inches แสดงว่าในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของภาพนั้นประกอบไปด้วยเม็ดสีจำนวน 150 สี เป็นต้น ภาพที่มีคุณภาพดี จึงควรมีความละเอียดที่ 300 ppi ขึ้นไป

RGB ย่อมาจาก RED,GREEN ,BLUE ซึ่งเป็นแม่สีของระบบสีของแสงที่ใช้แสดงผลบนจอภาพในคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ LCD และ LED

CMYK คือ ย่อของแม่สีวัตถุธาตุ หรือหมึกพิมพ์ โดยมีสีฟ้าอมเขียว Cyan สีแดงอมม่วง Magenta สีเหลือง Yellow  และสีดำ Black ที่ใช้ในการพิมพ์ 4 สี โดยสีที่แสดงบนจอภาพกับสีที่พิมพ์ออกมาจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์จึงควรตั้งค่าสีให้เป็น CMYK  เพื่อจะได้เห็นการแสดงผลที่ใกล้เคียงกับสิ่งพิมพ์มากที่สุด

สัญญาณที่ส่งผ่านทางสายโทรศัพท์พื้้นฐานในประเทศไทย เป็นสัญญาณแบบอะนะล๊อก ซึ่งมีลักษณะเป็นคลื่น ไม่ใช้การส่งแบบ 0 และ 1 ดังนั้นสัญญาณแอนะล๊อกจึงถูกรบกวน Noise ได้ง่ายกว่าสัญญาณดิจิทัล

สาระที่1

1. ความหมายของระบบสื่อสารข้อมูล
2. องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
      ศึกษาลายละเอียดและข้อมูล
      
**นักเรียนดูและวิเคราะห์วีดีโอและสรุปสาระที่ได้จากวีดีโอนี้ หรือ Click
โดยการแสดงความคิดเห็นที่เป็นเหตุและผล


**งานชิ้นที่1  นักเรียนใช้โปรแกรม Microsoft word ในการออกแบบให้สวยงาม

หมายเหตุ:นักเรียนบันทึกชิ้นงานเป็นไฟล์ PDF